ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3



หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อวิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างไร
       ก.   ทำให้เกิดวิธีการทางประวัติศาสตร์
       ข.   กำหนดวิธีการทางประวัติศาสตร์
       ค.   กำหนดหัวข้อทางประวัติศาสตร์
       ง.   ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
  2.  ปัญหาที่สำคัญในที่สุดในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยคืออะไร
       ก.   ผู้บันทึกข้อมูลมักลำเอียงในการบันทึกข้อมูล
       ข.   ขาดผู้มีความรู้เรื่องภาษาโบราณ
       ค.  ขาดผู้สนใจศึกษาอย่างจริงจัง
       ง.   หลักฐานมีน้อย
  3.  นักเรียนควรฝึกฝนความสามารถในข้อใด เพื่อประโยชน์ ในการตีความข้อมูล
       ก.   มีจินตนาการในการสันนิษฐานเหตุการณ์ในอดีต
       ข.   รู้จักคิดวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
       ค.   รู้จักการนำแนวคิดในปัจจุบันไปพิจารณาอดีต
       ง.   มีความอดทนในการอ่านเอกสารจำนวนมาก
  4.  ขั้นตอนสุดท้ายในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาเหตุการณ์คือข้อใด
       ก.   การนำเสนอข้อมูลชั้นต้นและชั้นรองมาเรียงลำดับ และมีความสัมพันธ์กัน
       ข.   การนำเสนอเหตุการณ์ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์มาแล้ว
       ค.  การตรวจสอบพิจารณาหลักฐานทั้งภายนอก
            และภายใน
       ง.   การคัดเลือกข้อมูลที่มีข้อเท็จจริงมากที่สุด
  5.  เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐาน
       ทางประวัติศาสตร์
       ก.   หลักฐานอาจมากหรือน้อย
       ข.   หลักฐานอาจเก่าหรือใหม่
       ค.   หลักฐานอาจจริงหรือเท็จ
       ง.   หลักฐานอาจมีหรือไม่มี
6. วิธีการใดจะช่วยในการประเมินค่าของข้อมูล
       ก.   ตรวจสอบการอ้างอิงจากหลักฐานชั้นรอง
            หากหลักฐานใดถูกอ้างอิงมากแสดงว่าน่าเชื่อถือ
       ข.   ตรวจสอบเวลาสร้างหลักฐาน เพราะหลักฐาน
            ที่สร้างขึ้นก่อนจะน่าเชื่อถือมากกว่า
       ค.  นำข้อมูลที่กล่าวถึงเรื่องเดียวกันจากหลักฐานต่างๆ  มาเปรียบเทียบกัน
       ง.   นำข้อมูลที่ได้จากหลักฐานไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
  7.  ข้อใดจัดเป็นหลักฐานชั้นต้นในสมัยรัตนโกสินทร์
       ก.   ภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวร
            ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล 
       ข.   สมุดไทยสงครามเก้าทัพของกรมพระราชวัง-
            บวรมหาสุรสิงหนาท
       ค.  สี่แผ่นดิน ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
       ง.   นิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่
  8.  ถ้านักเรียนสนใจศึกษาเรื่อง การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ควรดำเนินการในข้อใดเป็นขั้นตอนแรก
       ก.   ใช้ข้อมูลที่เขียนโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชา-
            นุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
       ข.   ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์
       ค.  สมัครเป็นสมาชิกหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
            หรืออ่านข้อมูลเก่าๆ
       ง.   อ่านประวัติผู้เขียนหนังสือเรื่อง พงศาวดาร
            กรุงรัตนโกสินทร์
  9.  การกำหนดหัวเรื่องจากความสนใจมีประโยชน์อย่างไร
       ก.   ทำให้มีแรงกระตุ้นในการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
       ข.   ทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้
       ค.  ทำให้ศึกษาในเรื่องที่ต่างจากคนอื่น
       ง.   ทำให้สะดวกในการศึกษา
10.  ลำดับขั้นตอนในข้อใดถูกต้องตามวิธีการทางประวัติศาสตร์
       ก.   กำหนดหัวเรื่อง รวบรวมหลักฐาน ประเมินคุณค่าของหลักฐาน จัดหมวดหมู่ข้อมูล เรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล
       ข.   เรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล กำหนดหัวเรื่อง รวบรวมหลักฐาน จัดหมวดหมู่ข้อมูล ประเมินคุณค่าของหลักฐาน      
       ค.  กำหนดหัวเรื่อง รวบรวมหลักฐาน จัดหมวดหมู่ข้อมูล ประเมินคุณค่าของหลักฐาน เรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล
       ง.   กำหนดหัวเรื่อง ประเมินคุณค่าของหลักฐาน จัดหมวดหมู่ข้อมูล รวบรวมหลักฐาน เรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. สมัยรัตนโกสินทร์มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยเป็นจำนวน    มากโดยเฉพาะชาวจีนทำให้ทางราชการต้องควบคุม    ชาวจีนด้วยวิธีใด
       ก.   ตั้งหน่วยงานควบคุมคนจีนโดยเฉพาะ
       ข.   กำหนดพื้นที่อยู่อาศัย
       ค.   เกณฑ์แรงงาน          
       ง.   จ่ายเงินผูกปี้
2. ชาติตะวันตกที่เข้ามาทำสัญญาการค้า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือข้อใด
       ก.   อังกฤษ สหรัฐอเมริกา
       ข.   โปรตุเกส ฮอลันดา
       ค.  ฮอลันดา ฝรั่งเศส
       ง.   ฝรั่งเศส อังกฤษ
  3.  การค้าขายกับต่างชาติ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
       มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ผู้มีหน้าที่ดูแลการค้ากับต่างชาติ คือ สมุหนายก
       ข.   เก็บภาษีจังกอบจากเรือสินค้าต่างชาติ
       ค.  ค้าขายอย่างเสรีกับชาติตะวันตก         
       ง.   ค้าขายกับจีนด้วยเรือสำเภา
  4.  ชาติตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือชาติใด
       ก.   โปรตุเกส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา
       ข.   อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา
       ค.   สหรัฐอเมริกา ฮอลันดา สเปน
       ง.   โปรตุเกส สเปน อังกฤษ
  5.  ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของกรมมหาดไทยได้ถูกต้อง
       ก.   ดูแลรับผิดชอบฝ่ายพลเรือนทั่วไป และควบคุมดูแล
            หัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งด้านทหารและพลเรือน
       ข.   รับผิดชอบเกี่ยวกับพระราชมนเทียร พระราชวัง
            พระราชพิธี
       ค.   ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตราชธานี
       ง.   ดูแลรับผิดชอบฝ่ายทหารทั่วไป
6. ข้อใดเป็นบทบาทของกษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์         ที่ถูกต้อง
       ก.   รัชกาลที่ 3 - ยุคทองของวรรณกรรม
       ข.   รัชกาลที่ 3 - ยุคทองทางเศรษฐกิจ
       ค.   รัชกาลที่ 1 - ยุคทองของศาสนา
       ง.   รัชกาลที่ 4 - ยุคทองของทหาร
  7.  ก่อนสร้างเมืองหลวงใหม่เคยเป็นที่อาศัยของชนชาติใด
       มาก่อน
       ก.   ชาวโปรตุเกส           
       ข.   ชาวมอญ
       ค.   เชลยศึก                 
       ง.   ชาวจีน

8. การค้าแบบรัฐบรรณาการ เป็นการค้าระหว่างไทยกับชาติใด
       ก.   โปรตุเกส                      ข. พม่า
       ค.  ลาว                            ง. จีน
  9.  ข้อใดกล่าวถึงหัวเมืองประเทศราชได้ถูกต้อง
    ก.  เป็นหัวเมืองต่างชาติ ต้องถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง     และเครื่องราชบรรณาการ 3 ปีต่อครั้ง
    ข.   มีเสนาบดีเป็นผู้ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย
       ค.  เป็นหัวเมืองที่อยู่ไม่ไกลจากราชธานี
       ง.   แบ่งออกเป็นหัวเมืองเอก โท และตรี
10.  การที่ทางราชการกำหนดให้วันที่ 6 เม.ย. ของทุกปี
       เป็นวันจักรี และหยุดราชการ 1 วัน เนื่องมาจากเหตุผล
       ในข้อใด
       ก.   วันสถาปนาราชวงศ์จักรีของ ร.1
       ข.   วันขึ้นครองราชสมบัติของ ร.1
       ค.   วันพระราชสมภพของ ร.1
       ง.   วันสวรรคตของ ร.1
11.  ข้อใดเกี่ยวข้องกับชาติจีนในสมัยรัชกาลที่ 3
       ก.   พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
       ข.   สำเภาวัดยานนาวา
       ค.   ศาลเจ้าพ่อเสือ
       ง.   ศาลไคฟง
12. ข้อใดกล่าวถึงสภาพสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่ถูกต้อง
       ก.   มีการแบ่งชนชั้นในสังคมด้วยระบบศักดินา
       ข.   วัดยังคงเป็นศูนย์กลางของชุมชนและการศึกษา
       ค.  มีการจัดระเบียบสังคมลักษณะคล้ายกับสมัยอยุธยา
       ง.   รับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาปรับใช้กับวัฒนธรรมไทย     อย่างแพร่หลาย
13.  ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการย้ายราชธานีของพระบาท-
       สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
       ก.   กรุงธนบุรีเป็นเมืองอกแตกมีแม่น้ำเจ้าพระยา
            ไหลผ่านกลางเมืองป้องกันข้าศึกได้ยาก
       ข.   กรุงรัตนโกสินทร์มีพระราชวังและกำแพง
            ป้อมปราการเดิมอยู่แล้ว
       ค.   การกัดเซาะของน้ำทำให้พื้นที่พระราชวังพังได้
       ง.   ไม่สามารถขยายพื้นที่บ้านเมืองได้
14.  หน่วยงานใดควบคุมดูแลชาวเมืองฝ่ายใต้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
       ก.   สมุหพระกลาโหม           ข. สมุหนายก
       ค.   กรมคลัง                      ง. กรมนา
15. จุดเน้นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย
       ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คืออะไร
       ก.   การเสริมอำนาจบารมีของพระมหากษัตริย์
       ข.   การรักษาความมั่นคงของชาติบ้านเมือง
       ค.   การรับอารยธรรมตะวันตกมาปรับใช้
       ง.   การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศ
       สมัย ร.4  
       ก.   เปลี่ยนแปลงการติดต่อกับชาติตะวันตก
       ข.   เปลี่ยนแปลงจากกษัตริย์สู่ประชาชน
       ค.   เปลี่ยนแปลงการใช้พระราชอำนาจ
       ง.   เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ล้าสมัย
  2.  ชนชาติในข้อใดที่เข้ามายึดครองประเทศราชของไทย
       ในสมัย ร.4
       ก.   เยอรมนี สหรัฐอเมริกา
       ข.   ฝรั่งเศส อังกฤษ
       ค.   โปรตุเกส สเปน
       ง.   สเปน เยอรมนี
  3.  ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัย ร.4
       ก.   สหรัฐอเมริกา
       ข.   โปรตุเกส
       ค.  แคนาดา
       ง.   อังกฤษ
  4.  การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัย ร.4 เกิดเหตุการณ์หลายประการ ยกเว้นข้อใด
       ก.   คนจีนเข้ามามีบทบาททางการค้ากับชาติตะวันตก แทนคนไทย
       ข.   มีการขยายพื้นที่ทำนาตามแนวคูคลอง
       ค.  ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
       ง.   ข้าวเป็นสินค้าออกแทนน้ำตาล
  5.  การเปลี่ยนแปลงของสังคมครั้งใหญ่ คือ การเลิกทาสและไพร่ เกิดขึ้นในรัชกาลใด
       ก.   รัชกาลที่ 4
       ข.   รัชกาลที่ 5
       ค.  รัชกาลที่ 6
       ง.   รัชกาลที่ 7
6. บุคคลใดมีส่วนช่วย ร.5 ในการปรับปรุงด้านกฎหมาย และการศาล
       ก.   กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
       ข.   กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
       ค.   กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
       ง.   กรมหลวงสงขลานครินทร์
  7.  เมื่อทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว เกิดผลเสียอย่างไร
       ก.   ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนมากเกินควบคุม
       ข.   ผลิตเพื่อส่งขายเท่านั้นไม่ขายในประเทศ
       ค.   การพึ่งพาสินค้าต่างประเทศ
       ง.   สนใจใช้สินค้าไทยเท่านั้น
  8.  ทำไม ร.5 ทรงต้องปฏิรูปการคลัง
       ก.   ต้องการเก็บรักษาเงินที่กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ
       ข.   ควบคุมการใช้จ่ายของเจ้านายและขุนนาง
       ค.  ต้องการการยอมรับจากชาติตะวันตก
       ง.   ต้องการนำเงินมาพัฒนาประเทศ
  9.  ข้อใดเป็นสินค้าต้องห้ามตามสนธิสัญญาเบาว์ริง
       ที่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น
       ก.   กระสุนดินดำ            ข.   อาวุธปืน
       ค.   น้ำตาล                   ง.   ฝิ่น
10.  ข้อใดบอกเล่าเกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองในสมัย ร.5
       ก.   ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศตามที่มีผู้รับรอง
       ข.   ปราบกบฏทางเหนือและทางใต้ได้อย่างเคร่งครัด
       ค.  จัดตั้งหน่วยงานการปกครองขึ้นมาใหม่ 12 กรม
       ง.   บริหารบ้านเมืองไทยรายบุคคล
    

11.  การที่ ร.6 ประกาศเป็นกลางในรายแรกทางสงคราม   โลกครั้งที่ 1 เป็นเพราะเหตุใด
       ก.   ขุนนางข้าราชการในกระทรวงเป็นชาวอังกฤษ
       ข.   ขุนนางข้าราชการไม่พอใจอังกฤษ ฝรั่งเศส
       ค.   อังกฤษ ฝรั่งเศสมีอำนาจรอบประเทศไทย
       ง.   เยอรมนีคุกคามเอกราชของไทย
12.  ราษฎรพ้นจากความเป็นทาสและไพร่ในช่วงอายุใด
       ก.   20 - 70 ปี
       ข.   21 - 70 ปี
       ค.  20 - 60 ปี
       ง.   21 - 60 ปี
13.  เหตุผลที่ ร.4 - ร.7 ทรงต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย   คืออะไร
       ก.   เห็นตัวอย่างสังคมไพร่มาเลเซียปรับปรุงประเทศ
       ข.   ไทยต้องการให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก
       ค.   ป้องกันการคุกคามของชาติตะวันตก
       ง.   ต้องการความเป็นหนึ่งในภูมิภาค
14.  การเสียเอกราชทางการศาลที่เรียกว่า สิทธิสภาพ
       นอกอาณาเขต เกิดขึ้นและสิ้นสุดในรัชกาลใด
       ก.   ร.4 - ร.8
       ข.   ร.3 - ร.6
       ค.   ร.4 - ร.7
       ง.   ร.4 - ร.9
15.  ความพร้อมในการปรับปรุงประเทศของ ร.4 - ร.7 คือข้อใด
       ก.   มีอาสาสมัครชาติตะวันตกเข้ามาช่วยงานราชการจำนวนมาก
       ข.   ได้รับการศึกษาจากแนวตะวันตก
       ค.  ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ
       ง.   ใช้ภาษาอังกฤษได้
16.  การรถไฟสายแรกในประเทศไทยวิ่งในช่วงใด
       ก.   กทม. - นครราชสีมา
       ข.   กทม. - บางประกง
       ค.  กทม. - บ้านนางชี
       ง.   กทม. ปากน้ำ
17.  ดินแดนที่เป็นประเทศราชของไทยปัจจุบัน คือประเทศ 
       ในข้อใด 
       ก.   กัมพูชา จีนตอนใต้ เมียนมา(มอญ)
       ข.   ลาว เมียนมา(มอญ) เวียดนาม
       ค.   ลาว กัมพูชา เวียดนาม
       ง.   ลาว กัมพูชา มาเลเซีย
18.  คลองใดที่ไม่ได้ขุดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการทำนา
       ก.   คลองประเวศบุรีรมย์
       ข.   คลองเปรมประชากร
       ค.  คลองลัดโพธิ์
       ง.   คลองรังสิต
19.  ไทยตระหนักในอิทธิพลของชาติตะวันตกจาก สถานการณ์ใดจึงยินยอมแก้ไขสัญญา
       ก.   สหรัฐอเมริกายึดญี่ปุ่นเป็นดินแดนอาณานิคม
       ข.   อังกฤษสั่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย
       ค.   จีนแพ้อังกฤษในสงครามฝิ่น
       ง.   ฝรั่งเศสยึดฮานอย
20.  การพัฒนาด้านการเงินการคลังเพื่อรับรองการค้าขาย
       กับชาติตะวันตกมีหลายวิธี ยกเว้นข้อใด
       ก.   กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
       ข.   ใช้เหรียญกษาปณ์
       ค.  จัดตั้งธนาคาร
       ง.   ใช้ธนบัตร


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดอธิบายการเมืองในสมัยประชาธิปไตยได้ถูกต้อง
       ก.   การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาจากทหาร
       ข.   ประชาชนประท้วงจนรัฐบาลต้องลาออก
       ค.   รัฐบาลเปลี่ยนแปลงด้วยการครบวาระ
       ง.   นานาชาติไม่ยอมรับรัฐบาลใหม่
  2.  สภาพสังคมไทยสมัยประชาธิปไตยตรงกับลักษณะข้อใดมากที่สุด
       ก.   ธุรกิจการเมืองของข้าราชการและนักธุรกิจ
       ข.   ข้าราชการมีอำนาจสูงสุด
       ค.  ประชาชนมีอำนาจสูงสุด
       ง.   ทหารมีอำนาจสูงสุด
  3.  การร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ที่ไทยมีบทบาทเป็นผู้ริเริ่มคือข้อใด
       ก.   SEATO
       ข.   ASEAN
       ค.   AFTA
       ง.   ADB
  4.  เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงเด่นชัด      ในเรื่องใด
       ก.   เปลี่ยนแปลงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
       ข.   ประสานความร่วมมือกับประเทศจีน
       ค.  ทำตามนโยบายของสหรัฐอเมริกา
       ง.   พยายามรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
  5.  ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิวัติ 2475
       ก.   การเผยแพร่แนวความคิดประชาธิปไตย
            กับชาติตะวันตก
       ข.   ความขัดแย้งระหว่างรัชกาลที่ 7 กับคณะราษฎร
       ค. เศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
       ง.   เกิดความขัดแย้งภายในราชสำนัก
6. ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสในเรื่องใด
       ก.   การขอดินแดนลาวและเขมรคืน
       ข.   การรุกล้ำตามเขตชายแดน
       ค.  การแย่งชิงอิทธิพลในลาว
       ง.   การขอปักปันเขตแดน
  7.  รัฐบาลกับคณะราษฎร เกิดความขัดแย้งกันหลังปฏิวัติ2475 มาจากสาเหตุใด  
       ก.   ความพยายามในการคืนอำนาจให้พระมหากษัตริย์
            อีกครั้งของรัฐสภา
       ข.   ความขัดแย้งในเค้าโครงเศรษฐกิจ
            ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
       ค.  รัฐบาลไม่รองรับการปฏิวัติของคณะราษฎร
       ง.   การงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

8. เมื่อไทยเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแล้ว
       ได้แสดงบทบาทในฐานะสมาชิกของสังคมโลกอย่างไร
       ก.   เข้าเป็นสมาชิก SEATO ต่อต้านคอมมิวนิสต์
       ข.   เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง
       ค.   ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากเวียดนาม
       ง.   เข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี
  9.  ประเทศที่ผลักดันให้ไทยต้องเข้าร่วมในสงครามโลก
       ครั้งที่ 2 คือประเทศใด
       ก.   สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
       ข.   อังกฤษ ฝรั่งเศส
       ค.  ญี่ปุ่น อังกฤษ
       ง.   ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น
10.  เพราะเหตุใด บ้านเมืองจึงยังไม่สงบภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
       ก.   เกิดกบฏบวรเดช 10 ต.ค. 2476      
       ข.   เกิดรัฐประหาร 20 มิ.ย. 2476
       ค.   เกิดการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475
       ง.   เกิดจลาจล 12 ม.ค. 2476
11.  พระราชกรณียกิจด้านสิ่งแวดล้อมของรัชกาลที่ 9
       เน้นเรื่องใดมากที่สุด
       ก.   การจัดการทรัพยากรน้ำ
       ข.   พระราชดำริทฤษฎีใหม่
       ค.   โครงการบำบัดน้ำ     
       ง.   โครงการแก้มลิง
12.  ข้อใดไม่ใช่บทบาทของไทยในสังคมโลก
       ก.   NATO                              ข.        AFTA
       ค.   WTO                               ง.        NAM
13.  ข้อใดเป็นโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของคนไข้โรคเรื้อน
       ก.   โรงเรียนราชประชาสมาสัย
       ข.   โรงเรียนมหรรณพาราม   
       ค.   โรงเรียนพระดาบส
       ง.   โรงเรียนจิตรลดา
14.  ข้อใดไม่ใช่พระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 8 ที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติ 
       ก.   องค์ประธานในพิธีสวนสนามของกำลังเสรีไทย
            และทหารในพันธมิตร
       ข.   การเสด็จประพาสสำเพ็งลดความขัดแย้ง
            ระหว่างคนไทยกับคนจีน
       ค.  องค์ประธานในพิธีการรับรองการยอมจำนนของญี่ปุ่นในไทย
       ง.   การประกาศสงครามกับกัมพูชาคดีปราสาทพระวิหาร
15.  จุดมุ่งหมายของขบวนการเสรีไทย คืออะไร
       ก.   ร่วมมือกับฝ่ายอักษะ
       ข.   ต่อต้านสัมพันธมิตร
       ค.  ร่วมมือกับญี่ปุ่น
       ง.   ต่อต้านญี่ปุ่น


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่ภูมิปัญญาของไทย
       ก.   การนำสมุนไพรมาทำยารักษาโรค      
       ข.   การทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร
       ค.   การสร้างบ้านสองชั้น
       ง.   การนวดแผนไทย
  2.  ข้อใดไม่ใช่ความหมายของภูมิปัญญาไทย
       ก.   การเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
       ข.   ความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์
       ค. ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อของมนุษย์
       ง.   ความรู้ที่สะสมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
  3.  ข้อใดกล่าวถึงภูมิปัญญาในการหาสีย้อมผ้าที่มาจากธรรมชาติไม่ถูกต้อง
       ก.   เปลือกมังคุดให้สีคราม
       ข.   ขมิ้นชันให้สีเหลือง
       ค.   อัญชันให้สีม่วง
       ง.   ครั่งให้สีแดง
  4.  ข้อใดคือข้อดีของการนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ใน  ชีวิตประจำวัน
       ก.   สามารถทำนายการเกิดภัยธรรมชาติล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ              
       ข.   ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
       ค.  ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
       ง.   ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ
  5.  ข้อใดเป็นภูมิปัญญาไทยที่เกิดจากลักษณะภูมิศาสตร์
       ก.   การสร้างบ้านเรือนไทยยกพื้นสูงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
       ข.   การแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี
       ค.  การทำปลาร้าที่จังหวัดมหาสารคาม
       ง.   การทำบุญในวันเข้าพรรษา
6. ภูมิปัญญาในอดีตมีความสัมพันธ์กับสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร
       ก.   ดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น
       ข.   ทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีพื้นบ้านราคาถูก
       ค.   ประชาชนหันมาใช้ภูมิปัญญาไทยมากขึ้น
       ง.   ประชาชนมีฐานะยากจนลง
  7.  การกระทำใดที่แสดงถึงการเห็นคุณค่าทางภูมิปัญญาไทยและเป็นการช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
       ก.   เผยแพร่ภูมิปัญญาให้คนในชุมชนนำไปใช้ประโยชน์
       ข.   เก็บรักษาภูมิปัญญาไทยที่มีอยู่ไว้อย่างดีไม่มีผู้อื่นรู้
       ค.  อุดหนุนสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย
       ง.   นำภูมิปัญญาไทยที่มีอยู่มาศึกษาและพัฒนา

8. ผลงานสร้างสรรค์ภูมิปัญญาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่ามีชื่อว่าอะไร
       ก.   คลองชลประทานแก้มลิง
       ข.   กังหันน้ำชัยพัฒนา
       ค.   คลองส่งน้ำแก้มลิง    
       ง.   กังหันลม
  9.  ข้อใดเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาภูมิปัญญา
       ในแต่ละท้องถิ่นให้แตกต่างกัน  
       ก.   จำนวนประชากร            ข. สภาพแวดล้อม
       ค.   สิ่งก่อสร้าง                    ง. การเลี้ยงดู
10.  ข้อใดไม่ใช่ภูมิปัญญาที่มีพื้นฐานจากการเกษตร     
       ก.   การนำพืชผักพื้นบ้านมาเป็นสมุนไพรรักษาโรค
       ข.   การเลือกใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มผลผลิต
       ค.  การใช้เกวียนขนส่งผลผลิตทางการเกษตร
       ง.   การใช้แห อวนเป็นเครื่องมือจับปลา
11.  รูปแบบของงานเครื่องไม้จำหลัก มีหลายลักษณะยกเว้นข้อใด    
       ก.   ธรรมาสน์นั่งเทศนาของพระสงฆ์
       ข.   บานประตูพระอุโบสถ
       ค.   ตู้เก็บพระไตรปิฎก     
       ง.   โต๊ะลายรดน้ำ
12วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเกิดขึ้นเพราะมีจุดประสงค์หลายประการ ยกเว้นด้านใด
       ก.   ทำให้ความสัมพันธ์กับต่างประเทศดีขึ้น
       ข.   ทำให้การประกอบอาชีพคล่องตัว
       ค.   ทำให้ผู้คนมีความสุข
       ง.   ทำให้สังคมสงบสุข
13.  เพราะเหตุใด ในการก่อสร้างบ้านเรือนไทยส่วนใหญ่
       จึงนิยมใช้หลังคาเป็นรูปจั่ว
       ก.   ความสูงช่วยสะท้อนความร้อนกระจายออกไป
       ข.   ความสูงของหลังคาช่วยคลายความร้อน
       ค.  ความสูงของหลังคาทำให้ไม่มีน้ำขัง
       ง.   เพื่อความสวยงาม
14.  ข้อใดไม่ใช่ผลงานของพระยาอนุมานราชธน(เสฐียรโกเศศ)
       ก.   ชีวิตชาวไทยสมัยก่อนและการศึกษาเรื่องประเพณีไทย
       ข.   กามนิต วาสิฏฐี
       ค.   ชั่วฟ้าดินสลาย
       ง.   นิรุกติศาสตร์
15.  ถ้านักเรียนต้องการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการแพทย์    แผนไทย นักเรียนควรไปที่ใด
       ก.   วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
       ข.   อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 
       ค.   วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
       ง.   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นประวัติศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ
       ก.   ดินแดนประชาธิปไตยแห่งแรกของโลก
       ข.   อารยธรรมมายาและแอชเตค
       ค.  นโยบายเหยียดผิว
       ง.   ระบบศักดินา
  2.  แหล่งอารยธรรมโบราณในทวีปอเมริกาใต้คืออะไร
       ก.   โบสถ์หินสกัดที่ลาลีเบลา
       ข.   เมืองมาชูปิกชู
       ค.  เอาท์แบค
       ง.   พีระมิด
  3.  ยุโรปก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลกในศตวรรษที่ 17-18
       จากการปฏิวัติครั้งสำคัญ ยกเว้นข้อใด
       ก.   การปฏิวัติฝรั่งเศส     
       ข.   การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
       ค.   การปฏิวัติอุตสาหกรรม    
       ง.   การปฏิวัติรุ่งโรจน์ของอังกฤษ
  4.  เส้นทางใดที่นำอารยธรรมตะวันตกแพร่หลายไปยังทวีปอเมริกาเหนือ
       ก.   มหาสมุทรแอตแลนติก
       ข.   มหาสมุทรอาร์กติก
       ค.   มหาสมุทรแปซิฟิก
       ง.   ช่องแคบเบริง
  5.  ปัจจัยที่ทำให้แอฟริกาพัฒนาช้ากว่าทวีปอื่น
       มีหลายประการ ยกเว้นข้อใด
       ก.   มีชายฝั่งทะเลเว้าแหว่งน้อยไม่เหมาะในการจอดเรือ
       ข.   ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำได้น้อยทั้งที่สายยาว
       ค.  มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย
       ง.   ไม่นับถือศาสนาคริสต์
  6.  ข้อมูลประวัติศาสตร์ยุโรปในยุคกลางข้อใดไม่ถูกต้อง
       ก.   ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลในการดำเนินชีวิต
       ข.   อาณาจักรโรมันถูกพวกเติร์กรุกราน
       ค.   การปกครองในระบบฟิวดัล
       ง.   สงครามครูเสด
7. ประเทศเดียวในทวีปอเมริกาใต้ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากสเปน คือข้อใด
       ก.   อาร์เจนตินา
       ข.   เวเนซุเอลา
       ค.   บราซิล
       ง.   เปรู
  8.  อาณาเขตด้านตะวันตกของทวีปยุโรป คือข้อใด
       ก.  ทะเลแดง
       ข.   มหาสมุทรอาร์กติก
       ค.  มหาสมุทรแอตแลนติก
       ง.   ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

9. การที่ทวีปอเมริกาเหนือเป็นที่รวมผู้อพยพจากแหล่งต่างๆ เกิดการหล่อหลอมให้เกิดสิ่งใด
       ก.   รักเสรีภาพในการเดินทาง 
       ข.   ความเชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้า
       ค.  สิทธิพิเศษในการเข้าร่วมการปกครอง
       ง.   ความเสมอภาคเท่าเทียมกันทางสังคม
10.  อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกเริ่มมีความสำคัญ
       จากเหตุการณ์ใด
       ก.   การค้นพบและการสำรวจโลก
       ข.   การปฏิวัติในฝรั่งเศส
       ค.   กษัตริย์ที่ชาญฉลาด
       ง.   สงครามครูเสด
11.  ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของออสเตรเลียเหมาะสมในการประกอบอาชีพใด
       ก.   เลี้ยงสัตว์ในฟาร์มขนาดใหญ่
       ข.   ทำเกษตรกรรมแบบผสม
       ค.   ทำอุตสาหกรรมป่าไม้      
       ง.   ทำอุตสาหกรรมหนัก
12.  ข้อใดคืออารยธรรมตะวันตก
       ก.   พีระมิด
       ข.   อักษรภาพ
       ค.   กฎหมายฮัมมูราบี
       ง.   สถาปัตยกรรมหัวเสา
13.  ชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายคาลาฮารี คือข้อใด
       ก.   เบอร์เบอร์
       ข.   บุชเมน
       ค.  วาตูซี
       ง.   ปิกมี
14.  ชนพื้นเมืองเดิมของออสเตรเลีย คือกลุ่มใด
       ก.   แอบอริจินี
       ข.   เมสติโซ
       ค.   เอสกิโม
       ง.   อินคา
15.  การเรียกร้องเอกราชจากชาวผิวขาวในทวีปแอฟริกา  
       ในประเทศใด ที่ทำให้ชาวแอฟริกันตื่นตัวในการปกครองตนเอง
       ก.   แอฟริกา
       ข.   ยูกันดา
       ค.   อียิปต์
       ง.   ซูดาน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ความขัดแย้งและความร่วมมือของโลกในคริสต์ศตวรรษที่20 ถึงปัจจุบัน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เหตุการณ์ต่อไปนี้ แสดงถึงความล้มเหลวขององค์กรสันนิบาตชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (คริสต์ศักราช 1939-1945) ยกเว้นข้อใด
       ก.   เยอรมนียึดครองแคว้นไรน์แลนด์ คริสต์ศักราช 1936
       ข.   ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรียของจีน คริสต์ศักราช 1931
       ค.   ฝรั่งเศสผนวกออสเตรีย คริสต์ศักราช 1938
       ง.   อิตาลียึดครองเอธิโอเปีย คริสต์ศักราช 1935
  2.  ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 (คริสต์ศักราช 1914-1918)
       ก.   ความขัดแย้งทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน
       ข.   การเผยแพร่อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์
       ค.   การแข่งขันแสวงหาอาณานิคม
       ง.   การเผยแพร่ลัทธิชาตินิยม
  3.  เหตุการณ์ในข้อใด ถือว่าเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกการสิ้นสุดของสงครามเย็น
       ก.   การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปในช่วงคริสต์ศักราช 1989-1991
       ข.   การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือนธันวาคม คริสต์ศักราช 1991
       ค.   การทำลายกำแพงเบอร์ลินในเดือนพฤศจิกายน คริสต์ศักราช 1989
       ง.   การยุติสงครามเวียดนามใน คริสต์ศักราช 1975
  4.  ประเทศใดที่ไม่ได้เป็นภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC)
       ก.   ประเทศอินโดนีเซีย   
       ข.   ประเทศเวียดนาม
       ค.   ประเทศไต้หวัน        
       ง.   ประเทศเมียนมา
  5.  วิกฤตการณ์ใดไม่ใช่ความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง
       ก.   การปิดล้อมกรุงเบอร์ลิน   
       ข.   วิกฤตการณ์ในคิวบา
       ค.   สงครามในบอสเนีย   
       ง.   สงครามเกาหลี
6. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในโลกปัจจุบัน
       ก.   ความต้องการครอบครองดินแดนที่มีทรัพยากรน้ำมันของชาติมหาอำนาจ
       ข.   การเข้าแทรกแซงประเทศอื่น เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
       ค.   ความขัดแย้งเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนา
       ง.   ความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์
  7.  สงครามเย็นมีความคลี่คลายลงได้ โดยไม่มีการเผชิญหน้ากัน เนื่องจากสาเหตุใด
       ก.   เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในประเทศที่มีความแตกต่างทางการเมืองและเศรษฐกิจ
       ข.   สหประชาชาติมุ่งแก้ไขปัญหาความอดอยากในประเทศกำลังพัฒนา
       ค.   การส่งกองกำลังสหประชาชาติไปช่วยคูเวตทำสงครามกับอิรัก
       ง.   สหประชาชาติส่งเสริมการใช้พลังงาน
8. เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายในคริสต์ศักราช1991 องค์การสหประชาชาติได้เสนอให้ประเทศใดเข้ามาทำหน้าที่สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแทน
 ก.   ประเทศเยอรมนี            
 ข.   ประเทศรัสเซี 
ค.   ประเทศญี่ปุ่น 
 ง.   ประเทศจีน
  9.  สงครามเย็นมีผลต่อทวีปเอเชียอย่างไร
       ก.   ทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตทุ่มกำลังเงินเข้ามาพัฒนาประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้น
       ข.   ทำให้เกิดสงครามในหลายประเทศ เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามอิรัก สงครามอิหร่าน
       ค.  ทำให้ชาติมหาอำนาจให้ความสำคัญกับทวีปเอเชีย
            มากขึ้น
       ง.   ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในประเทศไทย
10.  ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดสงครามเกาหลี
       ก.   เกาหลีเหนือยึดมั่นในอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ต้องการให้เกาหลีใต้มารวมเป็นชาติเดียวกัน
       ข.   คาบสมุทรเกาหลีมีความขัดแย้งทางเชื้อชาติรุนแรง
       ค.  ได้รับบทเรียนมาจากสงครามเวียดนาม
       ง.   สหรัฐอเมริกายุยงให้เกิดสงคราม
11.  สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนามมีความสำคัญอย่างไร
       ก.   เป็นสงครามสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศจีน
       ข.   เป็นสงครามตัวแทนของสหรัฐอเมริกาและ
            สหภาพโซเวียตในสงครามเย็น
       ค.  เป็นสงครามที่สหรัฐอเมริกาประสบความเสียหาย มากที่สุด
       ง.   เป็นสงครามต่อสู้กับจักรวรรดินิยมสมัยใหม่
12.  การประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจกลาสนอสต์-                        เปเรสตรอยกา (Glasnost-Perestroika) ของประธานาธิบดีมีฮาอิล กอร์บาชอฟ แห่งสหภาพ
โซเวียตมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
       ก.   การปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น
       ข.   การยกเลิกอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ของคาร์ล มากซ์ และเลนิน
       ค.   การปฏิรูปสังคมให้มีเสรีภาพมากขึ้น
       ง.   การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคใหม่
13.  ภาวะสงครามเย็นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เพราะเหตุใด
       ก.   ประธานาธิบดีบิล คลินตันได้รับการเลือกตั้ง
            เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
       ข.   มีฮาอิล กอร์บาชอฟหมดอำนาจในโซเวียต
       ค.   การรวมชาติของชาวเยอรมัน
       ง.   สหภาพโซเวียตล่มสลาย
14.  ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของความขัดแย้งระหว่างประเทศในยุคสงครามเย็น
       ก.   ความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมือง
       ข.   ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
       ค.   การแย่งชิงความเป็นใหญ่
       ง.   การแย่งชิงทรัพยากร
15.  สงครามเย็น คืออะไร
       ก.   สงครามระหว่างทหารกับประชาชนที่รักประชาธิปไตย
       ข.   สงครามระหว่างชาติตะวันตกและชาติตะวันออก
       ค.  สงครามด้านอุดมการณ์ความคิด
       ง.   สงครามระหว่างศาสนา

1 ความคิดเห็น: