ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6





หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.     การนับเวลาในประวัติศาสตร์ไทยมีความสำคัญอย่างไร
        ก.    ทำให้จัดลำดับความคิดได้ถูกต้อง
        ข.    มองเห็นความสัมพันธ์ของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
        ค.    สามารถบอกเหตุการณ์ได้ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน-หลัง
        ง.     ถูกทุกข้อ
2.     ข้อใด ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับเวลา
        ก.    คิมหันต์ วสันต์
        ข.    ดอกโสนบานเช้า ดอกสะเดาบานเย็น
        ค.    เที่ยงตรง เที่ยงธรรม 
        ง.     ผึ้งบินหาน้ำหวาน นกบินกลับรัง
3.     ข้อใดกล่าวถึงศักราช ไม่ถูกต้อง
        ข.    พ.ศ.ของไทยเร็วกว่าศรีลังกา 1 ปี   
        ค.    ร.ศ. เป็นศักราชในรัชกาลที่ 5
        ง.     ค.ศ. ใช้กับการเกิดของพระเยซู   
        จ.     จ.ศ. เป็นศักราชของไทยในพงศาวดาร
4.     เรียงลำดับการใช้ศักราชในการบันทึกประวัติศาสตร์ไทยให้ถูกต้อง
        ก.    ร.ศ. พ.ศ. ค.ศ. จ.ศ. ม.ศ.                    
        ข.    จ.ศ. ม.ศ. พ.ศ. ร.ศ. ค.ศ.
        ค.    ม.ศ. จ.ศ. พ.ศ. ร.ศ. ค.ศ.  
        ง.     ม.ศ. จ.ศ. ค.ศ. พ.ศ. ร.ศ.
5.     การเกิดศักราชเกี่ยวเนื่องข้อใด
        ก.    เศรษฐกิจ                    ข.  การเมือง                       
        ค.    ศาสนา                        ง.    เหตุการณ์สำคัญ
6.     ข้อใดถือว่าเป็นศักราชสากล
        ก.    ฮิจเราะห์ศักราช       
       ข.  คริสต์ศักราช                                                            
        ค.    พุทธศักราช             
       ง.   รัตนโกสินทร์ศักราช
7.     ข้อใดไม่ถูกต้อง
        ก.    พ.ศ. การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า  
        ข.    ค.ศ. การตรึงไม้กางเขนของพระเยซู
        ค.    ฮ.ศ. การอพยพของนบีและสาวก 
       ง.      ร.ศ. การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
8.     การนับศักราชในข้อใดถูกต้อง
        ก.    พุทธศักราช จันทรคติ 
        ข.    คริสต์ศักราช- จันทรคติ
        ค.    ฮิจเราะห์ศักราช จันทรคติ
        ง.     รัตนโกสินทร์ศก-จันทรคติ

9.     การเทียบศักราชในข้อใดไม่ถูกต้อง
        ก.    ฮิจเราะห์ศักราชช้ากว่าคริสต์ศักราช 
        ข.    คริสต์ศักราชเร็วกว่ารัตนโกสินทร์ศก
        ค.    พุทธศักราชเร็วกว่าคริสต์ศักราช
        ง.     มหาศักราชช้ากว่าจุลศักราช
10.   ข้อมูลใดไม่ถูกต้อง
        ก.    กรุงเทพฯ สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2325 ตรงกับรัตนโกสินทร์ศก 1
        ข.    ปัจจุบันกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงมา 229 ปี
        ค.    ศาสนาพุทธเกิดมา 2552 ปี ขณะที่ศาสนาคริสต์เกิดมานาน 2009 ปี
        ง.     ไทยเสียกรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2112 ตรงกับ ค.ศ.1969
11.   ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์เป็น 2 ยุคใหญ่
        ก.    วัสดุทำเครื่องมือเครื่องใช้ 
        ข.    การตั้งชุมชน
        ค.    คำบอกเลาสืบต่อกันมา                                
        ง.     การบันทึกเรื่องราว
12.   หลักฐานประวัติศาสตร์ข้อใดไม่เข้าพวก
        ก.    ตำนานอุสา-บารส           
       ข.   จารึกอักษรสยาม
        ค.    พงศาวดารเหนือ
       ง.   ขวานหินขัด
13.   ยุคสมัยในข้อใดที่มนุษย์ ยังใช้ชีวิตเร่ร่อนด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์
        ก.    ยุคหินกลาง   
       ข.   ยุคหินใหม่
        ค.    ยุคสำริด         
        ง.   ยุคเหล็ก
14.   ในการศึกษาเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยจะไม่พบหลักฐานในข้อใด
        ก.    กำไลสำริด    
       ข.   เครื่องปั้นดินเผา
        ค.    โครงกระดูกมนุษย์
        ง.   แผ่นจารึกอักษรโบราณ
15.   เพราะเหตุใด วัสดุที่ทำเครื่องมือเครื่องใช้นิยมใช้เหล็กมากกว่าสำริด 
        ก.    หาได้ง่าย  
        ข.   ผลิตได้ง่าย
        ค.    มีความทนทานกว่า 
         ง.   นำมาใช้ได้ง่ายกว่า




หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.   ข้อใดไม่อยู่ในวิธีการทางประวัติศาสตร์
        ก.    การตั้งประเด็นคำถาม
        ข.    การปรับแต่งข้อมูล
        ค.    การรวบรวมหลักฐาน
        ง.    การตีความหลักฐาน
2.   บุคคลในข้อใดใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนการวิเคราะห์หลักฐาน
        ก.    เอก นำเสนอเรื่องที่ศึกษาอย่างมีเหตุผล 
        ข.    โท ตอบคำถามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
        ค.    ตรี  สืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์
      ง.    จัตวา ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
3.    เพราะเหตุใด จึงกล่าวว่าการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในวิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
        ก.    เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงของหลักฐานที่หามาได้
        ข.    เป็นการตรวจสอบข้อมูลว่าให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์หรือไม่
        ค.    เป็นการนำข้อมูลทั้งหมดมาแยกแยะ เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ตรงประเด็น
        ง.    เป็นหลักฐานหรือข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
4.  ข้อใดเป็นการตั้งประเด็นที่ไม่เหมาะสมในการศึกษาประวัติศาสตร์
        ก.    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างชาติไทย
        ข.    การเลิกทาสในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
        ค.    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา
        ง.    วีรกรรมของท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย
5.   ข้อใดจัดเป็นหลักฐานทางโบราณคดีทั้งหมด
        ก.    โครงกระดูก เครื่องมือ-เครื่องใช้
        ข.    ศิลาจารึก  ซุ้มใบเสมา
        ค.    พงศาวดารอยุธยา  ตำนานท้าวแสนปม             ง.    วีดิทัศน์เรื่องจดหมายเหตุกรุงศรี  รอยไทย
6.   เพราะเหตุใดจึงต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์
        ก.    เข้าใจขั้นตอนในการศึกษาประวัติศาสตร์
        ข.    หาความจริงจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
        ค.    จัดหมวดหมู่ข้อมูลจากหลักฐานประวัติศาสตร์    
        ง.    หาจุดประสงค์ของผู้สร้างหลักฐานประวัติศาสตร์
7.    หลักฐานลายลักษณ์อักษรมีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร
        ก.    เป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ดีที่สุด
        ข.    เป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลง่ายกว่าหลักฐานอื่น
        ค.    เป็นหลักฐานที่มีจำนวนมาก หาง่าย      
        ง.    เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุด
8.   การกำหนดประเด็นมีประโยชน์อย่างไรต่อวิธีการทางประวัติศาสตร์
        ก.    บอกความสนใจของผู้ศึกษาค้นคว้า
        ข.    ป้องกันการศึกษาซ้ำกับผู้อื่น
        ค.    กำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษา
        ง.    ทำให้ทราบแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์

9.  การกำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
        ก.    กำหนดช่วงเวลาและพื้นที่ที่จะศึกษาให้ชัดเจน   
        ข.    กำหนดหัวเรื่องกว้างๆ เพื่อศึกษาได้หลายประเด็น
        ค.    นำประเด็นที่มีผู้ศึกษามาก่อนและมีการยอมรับแล้ว       
        ง.    กำหนดหัวเรื่องให้แคบจะได้ไม่เสียเวลาศึกษา
10.    วิธีการใดจะเกิดประโยชน์ในการประเมินคุณค่าของข้อมูล
        ก.    นำข้อมูลที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
       ข.   นำข้อมูลที่กล่าวถึงเรื่องเดียวกันมาเทียบเคียงกัน     
      ค.  ดูระยะเวลาในการสร้างหลักฐานยิ่งเก่ายิ่งน่าเชื่อถือ     
        ง.    อ้างอิงจากหลักฐานชั้นรองจำนวนมากก็น่าเชื่อถือ
11.  เพราะเหตุใดจึงต้องศึกษาจากผลงานของผู้เชี่ยวชาญก่อนไปศึกษาในสถานที่จริง
        ก.    หาความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญ   
        ข.   ทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อน
        ค.   หากเข้าใจเรื่องแล้วไม่ต้องไปสถานที่จริง           ง.    เปรียบเทียบผลงานจากผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน
12.  หลักฐานประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อวิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างไร
        ก.    ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
       ข.     กำหนดวิธีการทางประวัติศาสตร์
        .    กำหนดหัวข้อหรือประเด็นทางประวัติศาสตร์     
        ง.    ทำให้เกิดวิธีการทางประวัติศาสตร์
13.  เพื่อประโยชน์ในการตีความข้อมูลควรปฏิบัติอย่างไร
        ก.    รู้จักวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูล          ข.    มีความอดทนในการอ่านเอกสารจำนวนมาก
        ค.   รู้จักนำแนวคิดในปัจจุบันมาพิจารณาอดีต          ง.    มีจินตนาการเกี่ยวกับอดีต
14.  หลักฐานชั้นต้นมีความน่าเชื่อถือกว่าหลักฐานชั้นรอง เพราะเหตุใด
    ก.   หลักฐานชั้นรองใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น
    ข.    หลักฐานชั้นต้นสร้างขึ้นปราศจากอคติ 
     ค.  หลักฐานชั้นต้นไม่สอดแทรกความคิดเห็นของผู้สร้าง   
      ง.    ผู้สร้างหลักฐานชั้นต้นทราบข้อมูลดีกว่า
15.  การกำหนดหัวเรื่องให้น่าสนใจจะเกิดประโยชน์อย่างไร
        ก.    สะดวกในการศึกษาค้นคว้า
        ข.    ศึกษาเรื่องที่แตกต่างจากผู้อื่น
        ค.    เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ 
        ง.    มีแรงกระตุ้นในการศึกษาอย่างต่อเนื่อง



หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
วิเคราะห์ประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ทฤษฎีที่ว่าคนไทยมาจากตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใช้หลักฐานอะไรสนับสนุน
        ก.    โครงกระดูกมนุษย์สมัยโบราณ
        ข.    เอกสารทางประวัติศาสตร์
        ค.    ฮีโมโกบิน อี ในเลือด
        ง.    หนังสือหลักไทย
2.   เหตุใดทฤษฎีที่ว่าชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่อดีตจึงยังไม่เป็นที่ยอมรับทั้งที่มีการพบ
โครงกระดูกและเครื่องใช้ของมนุษย์โบราณในไทย
.    บริเวณที่พบอยู่ห่างไกลจากแหล่งที่ตั้งชุมชนในปัจจุบัน
ข.    เครื่องใช้ที่พบไม่เหมือนกับเครื่องใช้ของคนไทยในปัจจุบัน
ค.    โครงกระดูกที่พบไม่มีลักษณะที่เหมือนกับคนไทยในปัจจุบัน
ง.    ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าโครงกระดูกและเครื่องใช้ที่พบเป็นของชนชาติไท                                     3.    อาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในเรื่องใดมากที่สุด
                ก.    ศาสนา
                ข.    ศิลปกรรม
                ค.    เศรษฐกิจ
                ง.    การปกครอง
        4.    ปัจจัยทางการเมืองในการสถาปนากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เหมือนกันอย่างไร
                ก.    สร้างเมืองหลวงที่มีแม่น้ำผ่ากลาง
                ข.    การทำสงครามกอบกู้อิสรภาพจากพม่า
                ค.    มีไพร่พลจำนวนมากทำให้สร้างเมืองได้รวดเร็ว
                ง.    เกิดปัญหาทางการเมืองภายในและความวุ่นวายขึ้นในอาณาจักรก่อน
        5.    ข้อใดคือจุดประสงค์สำคัญในการปฏิรูปประเทศ
                ก.    เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากชาติตะวันตก
                ข.    เพื่อสร้างความมั่นคงและพัฒนาทางเศรษฐกิจ
                ค.    เพื่อสร้างความมั่นคงและจัดระเบียบการบริหาร
                ง.    เพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและความสะดวกสบาย
        6.    การปฏิรูปการปกครอง มีจุดประสงค์สำคัญในเรื่องใด
                ก.    ลดค่าใช้จ่ายของรัฐ
                ข.    การรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง
                ค.    กระจายอำนาจการปกครอง
                ง.    ป้องกันการรุกรานของต่างชาติ
        7.    ข้อใดคือวิธีการเลิกทาสของไทย
                ก.    ให้ทาสมารับราชการทหารแทน
                ข.    ให้ทาสทำงานใช้หนี้ไปจนหมดค่าตัว
                ค.    ประกาศเลิกทาสพร้อมกันทั่วราชอาณาจักร
                ง.    ให้ลูกทาสมีค่าตัวลดลงไปเรื่อยๆ ตามพระราชบัญญัติพิกัดอายุลูกทาสลูกไท พ.. 2417
        8.    สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การยกเลิกระบบไพร่ คือข้อใด
                ก.    ขัดขวางการปฏิรูปประเทศ
                ข.    เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม
                ค.    ไพร่ไม่มีงานทำเพราะสังกัดมูลนาย
                ง.    ไพร่หลบหนีไปเป็นคนในบังคับต่างชาติ

9.    ข้อใดคือพระราชกรณียกิจสำคัญในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของรัชกาลที่ 5
                ก.    การแสวงหาพันธมิตรจากชาติในยุโรป
                ข.    การศึกษาความเจริญของชาติในยุโรป
                ค.    การเจรจาแก้ไขความขัดแย้งกับชาติในยุโรป
                ง.    การแสดงฐานะของไทยให้ชาติในยุโรปได้รู้จัก
        10.  ข้อใดคือประโยชน์สำคัญที่สุดที่ได้รับจากการเสด็จประพาสต้น
                ก.    ประหยัดรายจ่าย
                ข.    ทราบความเป็นอยู่ของราษฎร
                ค.    ได้พูดคุยอย่างใกล้ชิดกับราษฎร
                ง.    ทราบการทำงานของข้าราชการท้องถิ่น
        11.  ปัจจัยใดที่ช่วยสนับสนุนการก่อการของคณะราษฎร
                ก.    ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
                ข.    การคุกคามของต่างชาติ
                ค.    พระมหากษัตริย์อ่อนแอ
                ง.    ได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติ
        12.  ข้อใดคือผลจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
                ก.    ทหารมีบทบาทสำคัญต่อการปกครองของไทย
                ข.    พระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจในการปกครอง
                ค.    ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ
                ง.    ผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อการปกครอง
        13.  ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร
                ก.    เป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำการทำงานให้แก่รัฐบาล
                ข.    เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                ค.    เป็นตัวแทนของชาติในการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติ
                ง.    เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติและเป็นสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเคารพ
        14.  ข้อใดคือบทบาทสำคัญของท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร และท้าวสุรนารี
                ก.    ทำสงครามปกป้องบ้านเมือง
                ข.    แต่งตำราการเรือนสำหรับสตรีไทย
                ค.    นำคนไทยหลบหนีข้าศึกกลับไทย
                ง.    แต่งตำราสอนขนบธรรมเนียมของสตรีไทย
        15.  การแต่งตั้งพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 เป็นผู้สำเร็จราชการ สะท้อนถึงเรื่องใด
                ก.    ผู้ชายควรไว้วางใจภรรยาของตน
                ข.    พระมหากษัตริย์ไม่ไว้วางใจบุคคลอื่น
                ค.    ผู้หญิงควรช่วยเหลืองานของสามีให้มาก
                ง.    สตรีมีความสามารถในการปกครองบ้านเมือง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.    ข้อใดคือบทบาททางการปกครองที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
        ก.    การทำสงครามกับพม่า
        ข.    การสร้างป้อมรักษาพระนคร
        ค.    การใช้กฎหมายตราสามดวง
        ง.    การให้ขุนนางมีตราประจำตำแหน่ง
2.    การที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงลดเวลาการรับราชการของไพร่ มีผลอย่างไร
        ก.    ทำให้ไพร่มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
        ข.    ทำให้ไพร่มีเวลาสร้างงานศิลปะ
        ค.    ทำให้ต้องจ้างชาวจีนทำงานแทนไพร่
        ง.    ทำให้ชาวต่างชาติเข้ารับราชการเพิ่มขึ้น
3.    ข้อใดคือพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้านนาฏกรรม
        ก.    การตั้งกรมโขนและละคร
        ข.    การส่งเสริมให้คนไทยเล่นโขน
        ค.    การใช้ซอในวงมโหรีของไทย
        ง.    การปรับปรุงท่ารำโขนและละคร
4.    จารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างไร
        ก.    เป็นแหล่งเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย
        ข.    เป็นแหล่งรายได้จากการท่องเที่ยว
        ค.    เป็นสถานที่รักษาโรคด้วยการนวดแผนโบราณ
        ง.    เป็นมรดกโลกตามประกาศขององค์การยูเนสโก
5.    ข้อใดคือผลงานด้านการแพทย์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
        ก.    ทรงนิพนธ์ตำรายาสมุนไพรไทย
        ข.    ทรงนำเครื่องมือแพทย์สมัยใหม่มาใช้ในไทย
        ค.    ทรงนำวิชาการแพทย์ตะวันตกมาเผยแพร่ในไทย
        ง.    ทรงสนับสนุนให้มิชชันนารีเข้ามารักษาโรคให้คนไทย
6.    เพราะเหตุใดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
        ก.    สนับสนุนการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ไทย
        ข.    เป็นผู้ริเริ่มให้มีการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
        ค.    มีผลงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำนวนมาก เช่น ไทยรบพม่า นิราศนครวัด
        ง.    รวบรวมของเก่าๆ เพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติจำนวนมากและเป็นผู้จัดตั้งโบราณคดีสโมสร
7. ข้อใดคือบทบาทสำคัญของหม่อมราโชทัย
        ก.    เป็นผู้ดูแลมิชชันนารีในไทย
        ข.    เป็นล่ามให้แก่คณะราชทูตของไทย
        ค.    เป็นเอกอัครราชทูตไทยที่กรุงลอนดอน
        ง.    เป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้แก่ขุนนางไทย
8.    ข้อใดคือบทบาทสำคัญที่สุดของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
        ก.    การเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
        ข.    การเจรจาทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
        ค.    การเจรจาแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ ร.. 112
        ง.    การสนับสนุนรัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์

9.    เหตุใดสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงสนับสนุนให้รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต่างประเทศ
        ก.    เพื่อลดความขัดแย้งภายในประเทศ
        ข.    เพื่อให้ศึกษาการพัฒนาประเทศแบบตะวันตก
        ค.    เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศโดยเฉพาะมหาอำนาจตะวันตก
        ง.    เพื่อให้ชาติตะวันตกรู้จักรัชกาลที่ 5 และเกรงกลัวอำนาจของไทยมากขึ้น
10.  ข้อใดคือบทบาทสำคัญของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์  ด้านอักษรศาสตร์
        ก.    การตั้งโรงพิมพ์ในไทย
        ข.    การแปลวรรณกรรมไทย
        ค.    การจัดทำพจนานุกรมภาษาไทย
        ง.    การเป็นครูสอนภาษาต่างประเทศให้กับรัชกาลที่ 5
11.  ผลงานของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย คือข้อใด
        ก.    การพิมพ์หนังสือสวดมนต์
        ข.    การแต่งหนังสือเล่าเรื่องเมืองสยาม
        ค.    การเสนอวิธีการเขียนพงศาวดาร
        ง.    การวาดภาพเหมือนบุคคลสำคัญของไทย
12.  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้นำวิทยาการด้านใดเข้ามาเผยแพร่ในไทย
        ก.    การพิมพ์
        ข.    การทำแผนที่
        ค.    การถ่ายรูป
        ง.    การใช้กล้องดูดาว
13.  บางกอกรีคอร์เดอร์มีความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างไร
        ก.    แจ้งข้อมูลข่าวสาร
        ข.    ส่งเสริมประชาธิปไตย
        ค.    สอนภาษาต่างประเทศ
        ง.    เผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมตะวันตก
14.  ข้อใดคือบทบาทที่สำคัญของพระยากัลยาณไมตรี
        ก.    เป็นผู้แทนของไทยในการทำสนธิสัญญาแวร์ซาย
        ข.    เป็นผู้แทนของไทยในการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค
        ค.    เป็นราชทูตของสหรัฐอเมริกาที่มาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย
        ง.    เป็นที่ปรึกษาในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร
15.  ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้วางรากฐานการเรียนศิลปะแบบใหม่ในไทยด้วยวิธีใด
        ก.    การเปิดโรงเรียนสอนศิลปะสมัยใหม่ในไทย
        ข.    การวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรม
        ค.    การสร้างงานศิลปะเป็นแบบอย่างให้ชนรุ่นหลังทำตาม
        ง.    การเป็นครูสอนศิลปะและประวัติศาสตร์ศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคือภูมิปัญญาไทย
     ก. ผลงานของไทยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต
     ข.  เอกลักษณ์เฉพาะและพื้นฐานการใช้ชีวิตของคนไทย
     ค.    เอกลักษณ์ที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
     ง.   วิธีการและผลงานของคนไทยที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
  2.  วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเกิดขึ้นเพราะมีจุดประสงค์หลายประการ ยกเว้นด้านใด
       ก.   ทำให้สังคมสงบสุข 
       ข.   ทำให้ผู้คนมีความสุข 
       ค.   ทำให้การประกอบอาชีพคล่องตัว  
       ง.   ทำให้ความสัมพันธ์กับต่างประเทศดีขึ้น
3.  ข้อใด ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา
        ก. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ                            
 ข.  การลอกเลียนแบบธรรมชาติ
 ค.  ความพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ        
 ง.   ความพยายามที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ
4.  ข้อใดเป็นภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ
        ก.  การทอผ้า                                                          
        ข.  การสร้างโบสถ์   
        ค.  การใช้คันไถไถนา  
         ง.  การปลูกบ้าน
5.  การแต่งกายของหญิงชาวอยุธยาที่นุ่งโจงกระเบนและห่มผ้าแถบ จัดเป็นภูมิปัญญาด้านใด
       ก.  การดำรงชีวิต 
       ข.  การประกอบอาชีพ
       ค.  การจัดระเบียบสังคม                                     
       ง.    การแสดงออกทางศิลปะ
6.  การจัดระบบไพร่โดยให้มีการเข้าเดือน - ออกเดือน และให้มีศักดินา จัดเป็นภูมิปัญญาด้านใด
       ก.  การดำรงชีวิต         
       ข.  การประกอบอาชีพ
       ค.  การจัดระเบียบสังคม                                     
       ง.  การแสดงออกทางศิลปะ
7.  การปลูกฝังให้คนเคารพเทิดทูนในองค์พระมหากษัตริย์ จัดเป็นภูมิปัญญาด้านใด
       ก.  การดำรงชีวิต 
       ข.  การประกอบอาชีพ
       ค.  การจัดระเบียบสังคม                                     
       ง.  การแสดงออกทางศิลปะ

8.   ภูมิปัญญาในอดีตที่ไม่มีแล้วในปัจจุบัน คืออะไร
      ก.  การสร้างที่อยู่อาศัย                                               
      ข.  การประกอบอาชีพ
      ค.  การแต่งกายและกินอาหาร                           
      ง.  การปกครองและระบบไพร่
9.   การนับถือพระพุทธศาสนา จัดเป็นภูมิปัญญาหรือไม่
      ก.  เป็นเพราะเป็นการจัดระเบียบสังคม      
      ข.  เป็น   เพราะได้รับอิทธิพลจากภายนอก
      ค. ไม่เป็น  เพราะไม่เกี่ยวกับธรรมชาติ          
      ง.  ไม่เป็น  เพราะไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่
10.   ข้อใดเป็นการแสดงออกที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อด้านจิตวิญญาณ
      ก.  การปลูกบ้านอยู่ริมน้ำ                                    
      ข.  การทำบุญในวันออกพรรษา
      ค.  การสร้างเจดีย์เพื่อบูชาผู้ล่วงลับ                   
      ง.    การประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
11.  ในอดีตของไทยที่มีการปลูกฝังความเชื่อด้านจิตวิญญาณ ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ใด
      ก.  การดำรงชีวิต
      ข.  การประกอบอาชีพ
      ค.  การจัดระเบียบสังคม                                     
      ง.   การแสดงออกทางศิลปะ
12.  ข้อใดเป็นภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยเพื่อเอาชนะธรรมชาติ
      ก.  การสร้างเตาทุเรียง                                         
      ข.  การสร้างถนนพระร่วง                                       
      ค.  การสร้างตระพังเงิน ตระพังทอง               
      ง.  การนิมนต์พระจากนครศรีธรรมราช
13.   การตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีโดยตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ลพบุรี
ไหลผ่าน จัดเป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ในด้านใด
      ก.  เอาชนะธรรมชาติ                                                
      ข.  แก้ปัญหาในชีวิต
      ค.  เพื่อการจัดระเบียบสังคม                              
      ง.  ปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
14.   หากจะศึกษาการใช้ยาตามแพทย์แผนโบราณ นักเรียนควรไปศึกษาที่วัดใด
     ก.  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ 
     ข.  เจดีย์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
     ค. วัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี                      
     ง.  วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
15.  นักเรียนควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยอย่างไร
      ก.  รวบรวมเขียนไว้เป็นตำรา
      ข.  สิ่งใดดี ก็ควรปฏิบัติต่อไป
      ค.  เชิญชวนให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้
      ง.  ออกกฎหมายลงโทษผู้ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทย
    
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น