ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1



หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เวลามีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร
       ก.   ใช้พิจารณาว่าเหตุการณ์นั้นเป็นประวัติศาสตร์หรือไม่
       .   ใช้ในการลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
       .   ใช้บอกรายละเอียดเหตุการณ์ที่สำคัญ
       .   ใช้หาข้อมูลทางประวัติศาสตร์
  2.  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
       ก.   ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวในอดีตได้ดีขึ้น
       .   ทำให้ศึกษาเรื่องราวในอดีตได้สะดวกขึ้น
       .   ทำให้เรื่องราวในอดีตเป็นจริงขึ้นมากกว่าเดิม
       .   ทำให้ประหยัดเวลาการทำงานของนักประวัติศาสตร์
  3.  ข้อใดกล่าวถูกต้อง
       ก.   พ.ศ. 1 เริ่มใช้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
            เป็นระบอบประชาธิปไตย
       ข.   ร.ศ. 1 เท่ากับ พ.ศ. 2411 (ปีที่รัชกาลที่ 5           ขึ้นครองราชย์)             
       ค.   การนับศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5
       ง.   พงศาวดารไทยสมัยอยุธยาใช้การนับแบบพุทธศักราช
  4.  ศักราชแบบใดที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดและเป็นศักราชสากล
       ก.   ฮิจเราะห์ศักราช        ข.   พุทธศักราช
       ค.   มหาศักราช              ง.   คริสต์ศักราช          
  5.  ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับศักราชที่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด
       ก.   คริสต์ศาสนา            ข.   ศาสนาอิสลาม
       ค.   พระพุทธศาสนา        ง.   ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

    

6. เราทราบได้อย่างไรว่า พ.ศ. 2555 ตรงกับ ค.ศ. 2012
       ก.   นำ 543 มาลบ เพราะพระพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์
            ก่อนพระเยซู 543 ปี
       .   ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน แต่ทราบเพราะเข้าใจกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว
       .   นำ 543 มาลบ เพราะ ค.ศ. ช้ากว่า พ.ศ. อยู่ 543 ปี
       .   นำ 543 มาลบ เพราะนักประวัติศาสตร์กำหนดไว้
  7.  “ศักราช 895 มะเส็งศก สมเด็จพระบรมราชา         
       หน่อพุทธางกูรเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระราชกุมารได้เสวยราชสมบัติ” เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใด
       ก.   2076                   ข.   2017
       ค.   1516                   ง.   1438
  8.  หลักเกณฑ์สำคัญในการแบ่งยุคสมัยเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์คืออะไร
       ก.   การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย
       ข.   การปกครองด้วยระบบกษัตริย์                       
       ค.   การประดิษฐ์ตัวอักษร 
       ง.   การตั้งบ้านเรือน       
  9.  มนุษย์ที่ยังเร่ร่อนอาศัยอยู่ตามเพิงผา ใช้เครื่องมือหินแบบง่ายๆ เป็นมนุษย์ยุคใด             
       ก.   ยุคโลหะ                  ข.   ยุคหินเก่า
       ค.   ยุคหินใหม่               ง.   ยุคหินกลาง
10.      การแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นยุคหินและยุคโลหะ  มีหลักเกณฑ์ในการแบ่งอย่างไร                 
       ก.   เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า       
       ข.   การตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ
       ค.   ภาษาพูดและภาษาเขียน
       ง.   รูปร่างหน้าตาของมนุษย์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
วิธีการทางประวัติศาสตร์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
    1.  บิดาแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย คือใคร
       ก.   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ข.   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
       ค.   สมเด็จฯ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
       ง.   ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช
  2.  ลักษณะนิสัยใดที่มีความจำเป็นน้อยสำหรับนักประวัติศาสตร์
       ก.   ชอบวาดภาพ               ข.  ชอบจดบันทึก
       ค.   ชอบค้นหา                  ง.   ชอบสังเกต           
  3.  เรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว จะมีความน่าเชื่อถือหากเป็นกรณีใด
       ก.   ผู้เขียนเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ
       ข.   มีการเรียบเรียงอย่างสละสลวย
       ค.   มีหลักฐานอ้างอิงสนับสนุน
       ง.   ผู้เขียนเป็นราชนิกูล
  4.  เรื่องราวที่ปรากฏในพงศาวดารส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
       ก.   พระราชกรณียกิจของกษัตริย์
       ข.   การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
       ค.   ความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้า
       ง.   สงครามกับเพื่อนบ้าน
  5.  เรื่องราวของมะกะโทที่เข้ามารับราชการในสมัยพระร่วงจัดเป็นหลักฐานประเภทใด
       ก.   ตำนานหรือนิทานพื้นบ้าน
       ข.   หลักฐานโบราณคดี
       ค.   บันทึกชาวต่างชาติ
       ง.   พงศาวดาร
  6.  หลักฐานที่เด่นมากในเรื่องของรายละเอียดและความถูกต้องของเวลา คือหลักฐานใด
       ก.   พงศาวดาร                 ข.  จดหมายเหตุ              ค.   ตำนาน                      ง.   จารึก     

7. บันทึกเหตุการณ์ของ วันวลิต ชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยอยุธยา เป็นหลักฐานประเภทใด
       ก.   หลักฐานชั้นรอง – ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร        
     ข.  หลักฐานชั้นต้น – ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
       ค.   หลักฐานชั้นรอง – เป็นลายลักษณ์อักษร
       ง.   หลักฐานชั้นต้น – เป็นลายลักษณ์อักษร
  8.  หากมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย แล้วไปเขียนหนังสือบรรยายว่าประเทศไทยล้าหลัง ด้อยพัฒนา เพราะยังมีการกินอาหารด้วยมือหรือไม่สวมเสื้อผ้า นักเรียนคิดว่าข้อความนี้จะใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอนาคตได้หรือไม่
       ก.   ได้ เพราะเป็นหลักฐานชั้นต้น
       ข.   ไม่ได้ เพราะเป็นหลักฐานเท็จ
       ค.   ได้ แต่ต้องมีการตีความหลักฐาน
       ง.   ไม่ได้ เพราะผู้เขียนไม่ใช่คนไทย                    
  9.  ขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ คือขั้นตอนใด
       ก.   เลือกเรียนวิชาประวัติศาสตร์
       ข.   ปรึกษาผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ
       ค.  ค้นหาหลักฐานเพื่อกำหนดเรื่องให้สอดคล้องกัน
       ง.  กำหนดหัวเรื่องที่น่าสนใจหรือเราสนใจ
10.      เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์
       ก.   หลักฐานอาจเก่าหรือใหม่
       ข.   หลักฐานอาจมากหรือน้อย   
       ค.   หลักฐานอาจจริงหรือเท็จ
       ง.   หลักฐานอาจมีหรือไม่มี


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
สมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
    1.  จากบันทึกของจีนที่เรียกอาณาจักรหนึ่งว่า “โถ-โล-โป-ตี้” หมายถึงอาณาจักรใด
       ก.   ลังกาสุกะ                   ข.  ละโว้
       ค.   ทวารวดี                     ง.   โยนกเชียงแสน      
  2.  อาณาจักรตามพรลิงค์มีศูนย์กลางอยู่ที่ใด
       ก.   เมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย
       ข.   นครศรีธรรมราช
       ค.   สุราษฎร์ธานี
       ง.   ปัตตานี            
  3.  เรื่องราวของอาณาจักรหริภุญชัยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับใคร
       ก.   พ่อขุนศรีอินทราทิตย์    
       ข.   พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
       ค.   พระนางจามเทวี        
       ง.   ฤๅษีวาสุเทพ
  4.  จากจดหมายเหตุจีน “เมืองหลอหู” คืออาณาจักรใด
       ก.  โยนกเชียงแสน             ข.  ทวารวดี
       ค.  โคตรบูรณ์                  ง.   ละโว้
  5. หลักฐานสำคัญที่แสดงว่า อาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน คือสิ่งใด
       ก.   พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร   
       ข.   ปราสาทหิน               
       ค.   ธรรมจักร
       ง. เสมาหิน
6. อาณาจักรใดที่มีหลักฐานและบันทึกอันแน่นอนที่แสดงถึงการตั้งอาณาจักรในแผ่นดินไทย
       ก.   ละโว้                        ข.  อีศานปุระ
       ค.   ทวารวดี                     ง.   โยนกเชียงแสน
   7. ชุมชนโบราณของไทยแห่งใดที่ได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก”
       ก.   บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
       ข.   บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
       ค.   ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน
       ง.   คลองท่อม จังหวัดกระบี่      
  8.  สิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัยเป็นยุคก่อนและหลังประวัติศาสตร์ คือสิ่งใด
       ก.   การเริ่มรับวัฒนธรรมจากอินเดีย
       ข.   อายุของโครงกระดูกที่พบ
       ค.   การประดิษฐ์ตัวอักษร
       ง.  เครื่องมือเครื่องใช้
  9.  เครื่องมือหินกะเทาะ เป็นเครื่องมือของมนุษย์ยุคใด
       ก.   ยุคสำริด                    ข.  ยุคหินใหม่
       ค.   ยุคหินเก่า                   ง.   ยุคหินกลาง
10.      คำว่า “สุวรรณภูมิ” หมายถึงดินแดนใด
       ก.   ดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
       ข.   ดินแดนที่มีประชากรมาก
       ค.   ดินแดนที่มีความสงบ
ง.
   ดินแดนที่ร่ำรวย  

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
พัฒนาการของอณาจักรสุโขทัย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ตลาดนัดจตุจักรในปัจจุบันหากเทียบกับสมัยสุโขทัยจะหมายถึงสิ่งใด
     ก.  ตลาดปสาน               ข. เตาทุเรียง
     ค.  สรีดภงส์                   ง.  ตระพัง
2. รูปแบบการปกครองสมัยสุโขทัยมีลักษณะอย่างไร
     ก.  ส่งข้าหลวงไปปกครอง
     ข.  รวมอำนาจไว้ที่ราชธานี
    ค.  กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
     ง.  แบ่งพื้นที่เป็นมณฑล
3. ลักษณะการค้าขายของอาณาจักรสุโขทัยตรงกับข้อใด
     ก.  รัฐเป็นผู้ผูกขาดการค้า
      ข. รัฐค้าขายแข่งกับราษฎร
      ค. ราษฎรค้าขายได้อย่างเสรี
     ง.  ราษฎรค้าขายสินค้าได้บางชนิด
4. ข้อใดเป็นภูมิปัญญาสมัยสุโขทัยที่เกี่ยวข้องกับชลประทาน
      ก. เครื่องสังคโลก            ข. ลายสือไทย
     ค.  เตาทุเรียง                 ง.  สรีดภงส์      
5. การมีสัมพันธไมตรีอันดีกับล้านนาส่งผลต่อสุโขทัยอย่างไร
     ก.  สามารถเผยแพร่วัฒนธรรมได้อย่างเสรี
     ข.  ปลอดภัยจากการถูกตีทางเหนือ
     ค.  เป็นแหล่งวัตถุดิบไว้ผลิตสินค้า    
     ง.  ได้กำลังช่วยยามเกิดสงคราม      
6. แนวทางการสร้างความสงบสุขของสังคมสุโขทัย จากหลักฐานที่ปรากฏนิยมใช้วิธีการใด
     ก.  ลงโทษผู้ฝ่าฝืนอย่างรุนแรง        
      ข. อบรมคนให้มีศีลธรรม
     ค.  ออกกฎหมายที่เข้มงวด
      ง.   ให้รางวัลแก่ผู้ทำความดี
7. ข้อใดเป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับลังกา
       ก.   สุโขทัยแผ่ขยายอำนาจเข้าครอบครองลังกา
       ข.   ลังกาถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้สุโขทัย
       ค.   สุโขทัยถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้ลังกา
       ง.   ลังกาส่งเครื่องราชบรรณาการ
  8.  มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่คนปัจจุบันได้รับจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือสิ่งใด
       ก.   การปกครองแบบปิตุลาธิปไตย           
      ข.   พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
       ค.   ลายสือไทย        
      ง.   เมืองฉอด
   
9. พระมหากษัตริย์ของสุโขทัยพระองค์ใดที่ทรงนำพระพุทธศาสนามาเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรต่างๆ
       ก.   พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)    
      ข.   พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)
       ค.   พ่อขุนรามคำแหงมหาราช   
      ง.   พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
10.  สุโขทัยได้รับอิทธิพลการนับถือพระพุทธศาสนานิกาย  เถรวาทลัทธิลังกาวงศ์มาจากแห่งใด
       ก.   นครศรีธรรมราช       
       ข.   ทวารวดี
       ค.   หริภุญชัย                
       ง.   ศรีลังกา
11. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมและตกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยามีหลายประการ ยกเว้นข้อใด
       ก.   เก็บภาษีอากรได้น้อย
      ข.   ความอ่อนแอทางทหาร       
       ค.   การค้าซบเซาเพราะอยู่ไกลทะเล
      ง.   การแย่งชิงอำนาจในหมู่ราชวงศ์พระร่วง
12.       ภูมิปัญญาของชาวสุโขทัยในข้อมูลใดที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้
       ก.   อาวุธที่ทำด้วยสำริด       ข.  พระพุทธรูป
       ค.   เครื่องสังคโลก             ง.   ตระพัง
13.       การสถาปนากรุงสุโขทัยเกิดจากวิธีใด
       ก.   อาณาจักรขอมได้ให้อิสรภาพโดยมอบผู้คนและทรัพย์สินมาสร้างบ้านเมือง            
      ข.   กลุ่มคนไทยรวมตัวตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจขอม
       ค.   ขอมรบชนะชุมชนที่อยู่มาก่อนแล้วตั้งกรุงสุโขทัยขึ้น
       ง.   กลุ่มคนไทยอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง
14.       การปกครองแบบพ่อปกครองลูกส่งผลดีต่อสุโขทัยอย่างไร
       ก.   ทำให้ขุนนางมีอำนาจมาก   
       ข.   การละเมิดกฎหมายน้อยลง
       ค.   กษัตริย์กับราษฎรใกล้ชิดกัน 
       ง.   ชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้น
15.  หลักฐานใดที่ช่วยยืนยันว่าสุโขทัยมีความเจริญมาก่อนที่จะได้สถาปนาเป็นราชธานี
       ก.   พระราชพงศาวดารกรุงสุโขทัย          
      ข.   ข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึก
       ค.   เรื่องราวจากเอกสารจีน
      ง.   ศาสนสถานศิลปะขอม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
    1. วัตถุประสงค์สำคัญของอาเซียนสอดคล้องกับข้อใด
       ก.   ผนึกกำลังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคให้เป็นปึกแผ่น  ข.   ใช้ระบอบการปกครองแบบเดียวกันทุกประเทศ     ค.   มีรัฐบาลกลางเดียวบริหารประเทศที่เป็นสมาชิก
       ง.   รวมดินแดนทุกประเทศในภูมิภาคเป็นรัฐเดียว    
  2.  ลักษณะเด่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือข้อใด
       ก.   เป็นภูมิภาคของความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง
            ประเทศ                   
       ข.   เป็นภูมิภาคที่สามารถผสมผสานวัฒนธรรมหลักกับ
            ภายนอก
       ค.   เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดของโลก
       ง.   เป็นภูมิภาคที่ไม่รับวัฒนธรรมภายนอก
  3.  สาเหตุสำคัญในข้อใด ที่ทำให้สิงคโปร์มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจได้รวดเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       ก.   มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน ทำให้
            มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันอย่างรวดเร็ว
       ข.   มีระบบการจัดการศึกษาที่ดีและประชากรมีคุณภาพสูง
       ค.   มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
       ง.   เคยถูกอังกฤษเข้ามาปกครอง
  4.  ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักมีชุมชนใหญ่ๆ อยู่ในบริเวณใด
      ก.   บริเวณที่อยู่ในเขตอากาศอบอุ่น          
      ข.   ที่ราบระหว่างภูเขา    
       ค.   ที่ราบชายฝั่งทะเล             
       ง.   บริเวณภูเขาสูง   
  5.  เพราะเหตุใด วิถีชีวิตของคนลาวจึงเปลี่ยนแปลงช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       ก.   ลาวไม่มีทางออกทะเล ทำให้ติดต่อค้าขายกับประเทศ          อื่นๆ ได้ลำบาก                      
       ข.   ประชาชนยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอย่าง
            เคร่งครัด
       ค.   คนลาวมีความเชื่อในผู้นำและมีความเป็นชาตินิยมสูง
       ง.   ลาวปิดประเทศ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาติใดๆ
6. อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่ส่งผลต่อพัฒนาการ      ของอาณาจักรโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดคือข้อใด
       ก.   ภาษาและวัฒนธรรม
       ข.   การปกครองและศาสนา
       ค.   การปกครองและการเมือง               
       ง.   การปกครองและเศรษฐกิจ
  7.  เหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์ในข้อใด ที่ทำให้เวียดนาม        รับอิทธิพลทางด้านต่างๆ จากจีนเป็นหลัก
       ก.   อยู่ในเขตอากาศอบอุ่นเช่นเดียวกับจีน ทำให้มี
            วัฒนธรรมต่างๆ คล้ายกัน
       ข.   อยู่ในละติจูดและลองจิจูดที่ใกล้เคียงกับจีน
       ค.   มีที่ตั้งติดกับจีนทั้งทางบกและทางทะเล
       ง.   เคยถูกจีนเข้าปกครองนับพันปี
  8.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       ก.   วิถีชีวิตของคนในสังคมส่วนใหญ่รับอิทธิพลจาก
            อินเดียและจีน
       ข.   เน้นวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก
       ค.   มีความหลากหลายทางด้านภาษา เชื้อชาติ ศาสนา
       ง.   เป็นสังคมที่มีการแข่งขันกันอย่างสูงในด้านต่างๆ
  9.  พื้นฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นอยู่กับด้านใด
       ก.   พาณิชยกรรม              ข.  การท่องเที่ยว
       ค.   อุตสาหกรรม               ง.      เกษตรกรรม        
10.      สภาพภูมิอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้       มีลักษณะตามข้อใด
       ก.   ฤดูร้อนร้อนจัด ฤดูหนาวหนาวจัด                    
       ข.   ฝนตกน้อย มีฤดูหนาวยาวนาน
       ค.   มีสภาพภูมิอากาศไม่แน่นอน
       ง.   อากาศร้อนตลอดปี มีฝนตกชุก


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
1. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของพระพุทธศาสนา
       ก.   พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  
       ข.   การแห่เทียนในวันเข้าพรรษา
       ค.   การฟังเทศน์มหาชาติ
       ง.   การทอดกฐิน                   
  2.  ถ้าต้องการศึกษาวรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์ ควรศึกษา จากแหล่งใด
       ก.   ทะเลเจดีย์พุกาม       
       ข.   เมืองฮอยอัน
       ค.   ปรัมบานัน              
       ง.   นครวัด            
  3.  คุณสมบัติเด่นในข้อใด ที่ทำให้หลวงพระบางได้รับการ        ยกย่องให้เป็นแหล่งมรดกโลก
       ก.   ลักษณะประชากรที่ยังเป็นคนในท้องถิ่น
       ข.   มีเอกลักษณ์ด้านการอนุรักษ์ตัวเมือง
  ค.   ความงดงามของพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของเมือง
       ง.   วิถีชีวิตผู้คนที่ยังนับถือพระพุทธศาสนา
  4.  บุโรพุทโธซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะชวามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
       ก.   ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
       ข.   การเผยแผ่คริสต์ศาสนาของชาวตะวันตก
       ค.   ความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย
       ง.   การบูชาเทพเจ้า          
  5. ข้อใดไม่ใช่อิทธิพลของอารยธรรมโบราณที่ส่งผลต่อไทย ในปัจจุบัน
       ก.   การใช้ทศพิธราชธรรมในการปกครองราษฎรของ
            พระมหากษัตริย์
       ข.   การใส่เสื้อราชปะแตนในการเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์
       ค.   การตั้งศาลพระภูมิบูชาเจ้าที่
       ง.   การใช้คำราชาศัพท์      

6. ถ้าต้องการศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในสมัยก่อน
       ประวัติศาสตร์ควรศึกษาจากแหล่งใด        
       ก.   เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
       ข.   ศึกษาจากหลักศิลาจารึกซึ่งมีการบันทึกไว้
       ค.   แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
       ง.   อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
  7.  สาเหตุสำคัญที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้          มีแหล่งอารยธรรมเป็นจำนวนมาก คือข้อใด
       ก.  อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนา
       ข.  ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร
       ค.   การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก     
       ง.   การมีตัวอักษรใช้ในการบันทึก
  8.  แหล่งวัฒนธรรมใดที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
       ก.   กลุ่มโบราณสถานมิเซิน       ข.   ปราสาทพระวิหาร
       ค.   แหล่งวัฒนธรรมยะรัง         ง.   ปรัมบานัน
  9.  มรดกโลกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในฐานะเคยเป็นเมืองท่าโบราณซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของเวียดนาม    คือสถานที่ใด    
       ก.   โบราณสถานเมืองเว้           ข.   เมืองหลวงพระบาง
       ค.   เมืองฮอยอัน                    ง.   นครวัด
10. การประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกมีความสำคัญ              ในด้านวัฒนธรรมอย่างไร             
       ก.   เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่      ของคนในยุคสมัยนั้น
       ข.   หล่อหลอมคนในชาติให้มีความสัมพันธ์กันอย่าง
     แน่นแฟ้น
       ค.   เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ง.   สะท้อนความเชื่อทางศาสนาให้กับคนในสังคม

1 ความคิดเห็น: